Knowledge

การบริหารจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management)

โพสต์เมื่อ 13 ตุลาคม 2558

            ความรู้เป็นสินทรัพย์ที่มีลกษณะแปลกกว่าสินทรัพย์อื่นๆ เนื่องจากความรู้ เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีขีดจํากัดและความรู้ยังเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าสําหรับองค์กร ยิ่งใช้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างคุณค่าเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น หรือยิ่งองค์กรมีความรู้ มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสามารถเรียนรู้ ในสิ่งใหม่ๆ ได้มากขึ้นเท่านั้น และเมื่อนําความรู้เก่ามาบูรณาการกับความรู้ใหม่ก็ก่อให้ เกิดความรู้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีก และส่งผลให้สามารถนําความรู้นั้นมาใช้ ประโยชน์ได้มากขึ้นอีกด้วย

            ในปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นอกจากความพร้อมในการบริหารจัดการทรัพยากรในองค์กร ที่จะสามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขัน และประสบความสําเร็จเหนือคู่แข่งแล้วนั้น การบริหารจัดการความรู้ในองค์กรก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะทําให้ได้มาซึ่งการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และช่วยให้องค์กรประสบความสําเร็จได้เช่นกัน

            พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของคําว่า “ความรู้” ไว้ว่าเป็นสิงที่สะสมมาจาการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ หรือสารสนเทศที่ได้รับจากประสบการณ์ สิ่งทีได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือปฏิบัติ องค์วิชาในแต่ละสาขา ซึ่งความรู้นี้ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

1) ความรู้ทีชัดแจ้งหรือ ความรู้ทีเป็นทางการ (Explicit Knowledge)

ซึ่งสามารถรวบรวมและถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่างๆ ได้ สามารถ

สื่อสารออกมาเป็นคํา ประโยค กฎเกณฑ์ หรือทฤษฎี เช่น หนังสือ

คู่มือ เอกสาร หรือรายงานต่างๆ ที่ทําให้คนสามารถเข้าถึงได้ง่าย

2) ความรู้โดยนัยหรือความรู้ที่มองไม่เห็นชัดเจน (Tacit Knowledge)

เป็นความรู้ ที่อยู่ในตัวของแต่ละบุคคล เกิดจากประสบการณ์

การเรียนรู้ หรือพรสวรรค์ต่างๆ ซึ่งความรู้ เหล่านี้ขึ้นอยูกับความเชื่อ

ความรู้สึก ศีลธรรม ทักษะและความรู้ความชำนาญในงาน ซึ่งจะสื่อสาร

หรือถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษณได้ยาก แต่จะสามารถเรียนรู้ได้โดยการถ่ายทอดแบ่งปันจากเจ้าของความรู้หรือคอยสังเกต และเลียนแบบหรือเรียนรู้จึงจะสามารถเรียนรู้เคล็ดลับและนำไปประยุกต์ใช้ได้

            ในการปฏิบัติงานจำเป็นต้องใช้ความรู้ทั้งสองประเภทนี้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดการความทั้งสองประเภทนี้ เพื่อให้สมาชิกในองค์กรสามารถเรียนรู้และนำไปใช้ในการทำงานได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

            แล้วการจัดการความรู้คืออะไร การจัดการความรู้ (Knowledge Management) คือ กระบวนการที่ช่วยในการสร้าง ค้นหา กำหนด ถ่ายทอด แบ่งปัน องค์ความรู้เพื่อช่วยในการเรียนรู้และการสร้างศักยภาพขององค์กร

 

 

 

                 การจัดการความรู้ เป็นสิ่งที่ทุกคนในองค์กรจะต้องร่วมกันส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ ในทุกภารงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ในประเด็นที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงาน โดยจะต้องดําเนินการในลักษณะที่บูรณาการเข้ากับงานประจํา และมีการเชื่อมโยงกับกิจกรรมความรู้ที่หลากหลาย โดยไม่ทําให้สมาชิกในองค์กรรู้สึกว่ามีภาระเพิ่มขึ้น นอกจากนี้วัฒนธรรมองค์กรก็เป็นส่วนที่มีความสําคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้สมาชิกในองค์กรเกิดการแลกเปลียนเรียนรู้แก่กัน เช่น การจัดรูปแบบการทํางานเป็นทีม ซึ่งจะช่วยทําให้สมาชิกในทีมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นที่เกียวข้องร่วมกันได้ สะดวกยิ่งขึ้น และยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดชุมชนนักปฏิบติ (Community of Practices : CoPs) ตามลักษณะงานที่รับผิดชอบ ซึ่งนับว่าเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อีกด้วย

 

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร

หลักการบริหารจัดการองค์ความรู้ และการใช้ KM เพื่อสร้างนวัตกรรมแก่องค์กร

(Knowledge Management and Apply to Innovation Organization)

โดย อ.กิตติคุณ วัชรมณเฑียร