Management Tips: 4 กลยุทธ์การตลาดเพื่อครองใจลูกค้ากลุ่ม Gen Z
โพสต์เมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2559
ด้วยกำลังการซื้อมูลค่าสูงถึงสองแสนล้านเหรียญจึงไม่น่าแปลกใจที่กลุ่ม Millenials จะกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายใหญ่ของหลายๆ แบรนด์ แต่ขณะเดียวกันกลุ่มผู้ซื้อคลื่นลูกใหม่ที่น่าจับตาไม่แพ้กันก็กำลังเติบโต ขึ้น นั่นคือกลุ่ม Gen Z หรือกลุ่มเด็กวัยรุ่นที่เกิดในช่วงปี 1990 จนถึงปัจจุบัน แม้ Gen Z ที่อายุมากที่สุดจะยังไม่พ้นวัยทีน แต่กลับมีกำลังซื้อมูลค่าสูงถึง 4.4 หมื่นล้านเหรียญ และเติบโตอย่างต่อเนื่อง ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่ม Gen Z ยังคิดเป็น 26% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ดังนั้นจึงถือเป็นตลาดที่น่าจับตามากทีเดียว |
||
แบรนด์ ต่างๆ จึงควรหันมาหาวิธีสร้างความไว้วางใจและความจงรักภักดีต่อแบรนด์ให้เกิดขึ้น ในใจเหล่า Gen Z แม้พวกเขาจะยังไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของคุณในตอนนี้ แต่ต่อไปเขาก็จะเติบโตขึ้นมาเป็นลูกค้าคุณอยู่ดี ดังนั้น จะรอช้าอยู่ไยรีบครองใจพวกเขาตั้งแต่ตอนนี้ดีกว่า |
||
มาดูกันว่า Gen Z ชอบอะไร และเราควรใช้เทคนิคไหนในการทำการตลาดกับกลุ่มนี้ |
||
ช่วย Gen Z สร้างตัวตน |
||
หลังจากเห็นความยากลำบากของพ่อแม่ในรุ่น Millenials หางานทำหลังจบปริญญา เหล่า Gen Z มองเห็นความสำคัญของการมีประสบการณ์ทำงานก่อนเรียนจบ แต่การทำงานของเหล่าเด็ก Gen Z นั้นไม่ใช่แค่การทำงานพิเศษตามร้านอาหารหรือร้านสะดวกซื้อ พวกเขาจะออกค่ายอาสา เริ่มธุรกิจออนไลน์ของตัวเอง หรือเป็นพาร์ตเนอร์กับบริษัทต่างๆ ในฐานะแบรนด์แอมบาสเดอร์ พวกเขาจะมองหาช่องทางที่จะสร้างตัวตนหรือแบรนด์ของตัวเองอยู่เสมอ จุดนี้ที่บริษัทของคุณจะแทรกซึมเข้าไปได้ |
||
เชิญให้เหล่า Gen Z มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์คุณพร้อมๆ กับที่เปิดโอกาสให้พวกเขาสร้างตัวตนด้วย การเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ผ่านโซเชี่ยลมีเดีย แคมเปญอินฟลูเอนเซอร์ หรือกลุ่มโฟกัสกรุ๊ปออนไลน์ นอกจากจะทำให้เหล่า Gen Z รู้สึกผูกพันและมีความจงรักภักดีกับแบรนด์ของคุณตั้งแต่ยังเด็กแล้ว ยังช่วยส่งเสริมการสร้างตัวตนในโลกออนไลน์ให้กับพวกเขาอีกด้วย |
||
เพิ่มความเป็นมนุษย์ |
||
เข้าไปดูหน้าอินสตาแกรมของเหล่า Gen Zแล้วคุณจะได้เจอแต่รูปเซลฟี่เรียงราย ดังนั้น จงเลียนแบบความต้องการที่จะแสดงตัวตนของกลุ่ม Gen Z แล้วสร้างคาแรคเตอร์ของแบรนด์ให้ชัดเพื่อดึงความสนใจจากพวกเขา Gen Z ไม่ต้องการพูดคุยกับบริษัทที่ไม่มีตัวตน ไร้ชีวิต พวกเขาต้องการติดต่อกับบริษัทที่มีความเป็นมนุษย์ เพิ่มภาพเบื้องหลังการทำงาน ลดการโพสต์แบบ "ตามแผน ตามรูปแบบ" ลง และเพิ่มโพสต์ตามกระแส ตามเหตุการณ์ หรือการแสดงความรู้สึกกับเรื่องเฉพาะหน้าให้มากขึ้น |
||
เคล็ดลับอีกประการคือการเลือกเซเล็บมาเป็นตัวแทนของแบรนด์ที่กลุ่ม Gen Z จะเข้าถึงง่าย ลองมองหาคนดังจาก YouTube หรือ Facebook มาเป็นตัวแทนแบรนด์ แทนที่จะใช้ดารา แม้จะไม่ได้ความโด่งดังสำหรับตลาดกลุ่มใหญ่ แต่เหล่า Gen Z จะเชื่อถือความคิดเห็นของกลุ่มนี้มากกว่า | ||
โฟกัสที่คุณภาพเป็นอันดับแรก |
||
กลุ่ม Millenials นั้นต้องการประสบการณ์ที่ดีมากกว่าตัวสินค้า ต่างจาก Gen Z ที่ต้องการสินค้าที่เจ๋งจริง ด้วยข้อมูลที่มีมากมายมหาศาลในโลกออนไลน์ค้นหาได้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส และความรู้เรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิดของเหล่า Gen Z ทำให้พวกเขาช่างเลือก กว่าจะซื้อสินค้าอะไรสักชิ้น ก็จะค้นหาข้อมูลแบบละเอียดยิบ ดังนั้น หากสินค้าของคุณไม่ดีจริง แคมเปญการตลาดดีแค่ไหนก็ไม่ช่วย | ||
การสร้างความเปลี่ยนแปลงกับสังคมยังสำคัญ | ||
ความต้องการที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกนี้เป็นประเด็นที่ทั้ง กลุ่ม Millenials และ Gen Z ต่างให้ความสำคัญ แต่กลุ่ม Gen Z จะเน้นการปฏิบัติที่เห็นผลจริงมากกว่า พวกเขาไม่ต้องการเพียงให้เกิดอิมแพค แต่พวกเขาต้องการ "เห็น" อิมแพค ดังนั้น แค่พูดว่าบริษัทของคุณให้ความสำคัญกับปัญหาที่เหล่า Gen Z ต้องการการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่เพียงพอ คุณต้องแสดงให้พวกเขาเห็นด้วย เพิ่มการรณรงค์เพื่อสังคมลงในแผนธุรกิจของคุณ แล้วขอความช่วยเหลือจากเหล่า Gen Z หลังจากนั้นโพสต์อัพเดทสิ่งที่เกิดขึ้น คลิปวิดีโอ และเรื่องราวซาบซึ้งหรือน่าประทับใจที่แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่คุณทำนั้นเกิด ผลสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริง |
||
แม้กลุ่ม Gen Z จะยังเด็ก แต่ก็เป็นกลุ่มที่แสวงหาข้อมูล มีความทะเยอทะยาน และจะกลายเป็นลูกค้าหลักของคุณในไม่ช้า เริ่มให้ความสำคัญกับพวกเขาเสียตั้งแต่วันนี้ก็ไม่ถือว่าเร็วไปนะ | ||